รายงานข่าวจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) แจ้งว่า ขณะนี้โครงการทางพิเศษ (ด่วน) ฉลองรัช ส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา ระยะทาง 16.2 กิโลเมตร (กม.) ยังอยู่ในขั้นตอนการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตเวนคืนที่ดิน ควบคู่กับการเตรียมออกประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมประมูลโครงการฯ คาดว่าจะเปิดประมูลได้ปลายเดือน ก.ค. หรือช่วงต้นเดือน ส.ค. 66 และได้ผู้ชนะประมูลประมาณสิ้นปี 66 หรือต้นปี 67 ใช้เวลาก่อสร้าง36 เดือน เปิดให้บริการต้นปี 70 ทั้งนี้โครงการฯ วงเงินอยู่ที่ประมาณ 2.4 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน (พื้นที่เวนคืน 471 ไร่ อาคาร และสิ่งปลูกสร้าง 134 หลัง) ประมาณ 3.7 พันล้านบาท และค่าก่อสร้างประมาณ 2.03 หมื่นล้านบาทคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รายงานข่าวแจ้งต่อว่า ก่อนหน้านี้ กทพ. มีแผนจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนฯ ประมาณเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากการออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตเวนคืนที่ดิน ยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะ เพื่อให้ระยะเวลาการเวนคืนที่ดิน และการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้เอกชนที่ชนะประมูลมีความสอดคล้องกัน มิฉะนั้นหากเปิดประมูลจนได้ตัวผู้ชนะประมูล และ กทพ. ไม่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ ก็จะส่งผลกระทบต่อการดำเนินโครงการ อีกทั้งการยืนราคาที่เสนอในการประมูลของเอกชน มีเวลา 1 ปี หากเกินระยะเวลาดังกล่าว และเอกชนไม่ยืนราคา ก็จะเกิดปัญหาตามมาอีก และยิ่งทำให้โครงการล่าช้าออกไป
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า เบื้องต้นการประมูลแบ่งเป็น 5 สัญญา โดยเป็นงานก่อสร้าง 4 สัญญา และงานระบบจัดเก็บค่าผ่านทาง และระบบควบคุมจราจร 1 สัญญา ซึ่งจะเปิดประมูลพร้อมกันทั้ง 5 สัญญา เมื่อได้ผู้ชนะการประมูลแล้ว จะเสนอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) กทพ. พิจารณาเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องเสนอ ครม. อีกครั้ง เพราะใช้งบประมาณค่าก่อสร้าง 2.03 หมื่นล้านบาทของ กทพ. เอง โดย กทพ. จะใช้เงินจากกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตประเทศไทย (TFFIF) ประมาณ 1.4 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลืออีกประมาณ 6 พันล้านบาท จะใช้เงินกู้เพิ่มเติมต่อไป
รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า คาดว่าไม่เกินกลางปี 67 ผู้รับจ้างจะสามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ เบื้องต้นตั้งเป้าหมายว่าจะส่งมอบพื้นที่ลอตแรกให้เอกชนได้ก่อนประมาณ 40% จากนั้นจะทยอยส่งมอบให้ครบ 100% ต่อไป อย่างไรก็ตามสำหรับพื้นที่ที่จะใช้ก่อสร้างโครงการทางด่วนฉลองรัช ส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา เป็นพื้นที่เวนคืนของชาวบ้าน คิดเป็นประมาณ 95% และอีก 5% เป็นพื้นที่ของหน่วยงานรัฐ อาทิ กรมทางหลวง (ทล.) และกรุงเทพมหานคร (กทม.) จุดไฮไลต์ของทางด่วนสายนี้อยู่ที่พื้นที่บริการทางพิเศษ หรือจุดพักรถ (Service Area) บนเนื้อที่ประมาณ 64 ไร่ โดยจะตั้งอยู่บริเวณคลอง 9 ซึ่งจะทำเป็นอาคารคร่อมทางด่วน สามารถใช้ร่วมกันได้ทั้งสองฝั่งถนน
โดยจุดพักรถดังกล่าวจะมีพื้นที่จอดรถขนาดใหญ่ พื้นที่จอดรถขนาดเล็ก อาคารสถานีตำรวจและกู้ภัย ร้านค้า สำนักงานของ กทพ. เพื่อให้บริการประชาชน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ อาทิ ห้องน้ำ และสถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger Station) เป็นต้น อย่างไรก็ตามทางด่วนสายนี้รองรับความเร็วได้ 120 กมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. ต่อชั่วโมง (ชม.) จำกัดความเร็วบริเวณทางร่วม และทางแยกต่างระดับ ใช้ระบบจัดเก็บค่าผ่านทางอัตโนมัติแบบไม่มีไม้กั้น (M-Flow) คาดการณ์ปริมาณจราจร ณ ปีเปิดให้บริการ อยู่ที่ประมาณ 3.2 หมื่นคันต่อวัน ค่าผ่านทางเริ่มต้นที่ 25 บาท สูงสุด 125 บาท ส่วนการเชื่อมต่อกับโครงการถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานครรอบที่ 3 (MR10) ของ ทล. ยังอยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด
สำหรับทางด่วนฉลองรัช ส่วนต่อขยาย ช่วงจตุโชติ-ถนนลำลูกกา เป็นทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร (ไป-กลับ) จุดเริ่มต้นเชื่อมต่อกับทางด่วนฉลองรัชที่ด่านเก็บค่าผ่านทางด่วนจตุโชติ บริเวณถนนวงแหวนรอบนอกกรุงเทพด้านตะวันออก (ถนนกาญจนาภิเษก) และมุ่งหน้าทางทิศตะวันออกตัดถนนหทัยราษฎร์ และถนนนิมิตใหม่ แล้วเลี้ยวขึ้นไปทางทิศตะวันอออกเฉียงเหนือ เชื่อมต่อถนนลำลูกกา จ.ปทุมธานี.